วิจัยการผลิตน้ำนมอินทรีย์

วิจัยการผลิตน้ำนมอินทรีย์ เพิ่มขีดการแข่งขันทางการค้า


แปลงหญ้าสำหรับเลี้ยงโค

ปัจจุบันหลายประเทศต่างเริ่มหันมามุ่งผลิตสินค้าปศุสัตว์ในระบบ "อินทรีย์" กันมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค และไม่ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมโดยรอบ เพื่อเพิ่มขีดการแข่งขันทางการค้าและเป็นทางเลือกกลุ่มผู้บริโภคในบ้านเรา ทาง ผศ.ดร.สัตวแพทย์หญิงสุดสายใจ กรมาทิตย์สุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จังหวัดนครปฐม ได้ทำการศึกษาวิจัย "การพัฒนาการผลิตน้ำนมอินทรีย์ในประเทศไทย : การศึกษาถึงคุณลักษณะน้ำนม สุขภาพ และการสืบพันธุ์ของแม่โคนมอินทรีย์" ด้วยเช่นกัน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สนับสนุนทุนวิจัย

ปศุสัตว์อินทรีย์ หมายถึง การผลิตสินค้าปศุสัตว์ในระบบเกษตรอินทรีย์ อันเป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรและผู้บริโภคที่คำนึงถึงผลกระทบของการผลิตภาคเกษตรต่อสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม



ผศ.ดร.สัตวแพทย์หญิงสุดสายใจ เล่าให้ฟังว่าการทำฟาร์มปศุสัตว์อินทรีย์นับว่ายังเป็นเรื่องใหม่สำหรับบ้านเรา ที่ผ่านมาองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) นับเป็นหน่วยงานแรกที่จัดตั้ง ดำเนินการฟาร์มเชิงอินทรีย์ ตามข้อกำหนดของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ร่วมทำการวิจัย โดยมุ่งศึกษาด้านสุขภาพของเต้านม องค์ประกอบน้ำนม

และชนิดของกรดไขมันเปรียบเทียบ ระหว่างการผลิตน้ำนมแบบดั้งเดิมและการผลิตน้ำนมอินทรีย์ และ ภาวะสมดุลพลังงานเมตาบอลิซึม ของโปรตีน คุณลักษณะ การเป็นสัด และ การ ทำงานของรังไข่ แม่โคอินทรีย์ ที่ภายใน ฟาร์มต้นแบบโคนมอินทรีย์ของ อ.ส.ค. และทำการ เปรียบเทียบกับฟาร์มที่เลี้ยงแบบดั้งเดิม ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ 29 กันยายน 2552-30 กันยายน 2553


ผศ.ดร.สัตวแพทย์หญิง สุดสายใจ กรมาทิตย์สุข

สำหรับแนวทางการวิจัย เป็นรูปแบบการ ผลิตแบบธรรมชาติ ปลอดการใช้สารเคมีในอาหาร สัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อการรักษาฮอร์โมน เพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำนม การดำเนินกิจการดังกล่าว เป็นการผลิตที่มุ่งเน้นศึกษา คุณภาพน้ำนมดิบ เป็นหลักที่ส่งเสริม ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ สวัสดิภาพสัตว์ (animal welfare) ตามมาตรฐานสุขอนามัยของฟาร์มและแม่โคนม ตามมาตรฐานที่ มกอช.กำหนด

ส่วนผลการดำเนินงาน นั้น ผศ.ดร.สัตวแพทย์หญิงสุดสายใจ บอกว่า หากพิจารณาถึงผลกระทบต่อแม่โค การผลิตน้ำนมเชิงอินทรีย์ ทำให้ภาวะสมดุลของพลังงานในร่างกายของแม่โค หลังคลอดดีขึ้นกว่าเดิม น้ำนมที่ได้จากฟาร์มอินทรีย์มีค่าเซลล์โซมาติค (ตัวชี้วัดสภาพเต้านม) ต่ำ เป็นการแสดงถึงแนวโน้มของปัญหาเต้านมอักเสบที่มีอัตราการเกิดโรคยาก แม่โคมีอุบัติการณ์ความเจ็บป่วยทางร่างกาย เนื่องจากปัญหา เต้านมอักเสบ และปัญหาสุขภาพ อาทิ ขา กีบ ภาวะเป็นกรดของกระเพาะหมักลดลง

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการใช้วัตถุดิบ พืชอาหารสัตว์ที่เป็นอาหารหยาบมากขึ้น แม่โคจึงไม่เกิดสภาวะความเครียด ส่งผลให้ปัญหาทางด้านการสืบพันธุ์ลดลง อัตราการทิ้ง (culling rate) ของแม่โคต่ำ ประสิทธิภาพทางการสืบพันธุ์ที่เพิ่มสูง และอายุการใช้งาน (longivity) ยาวนานขึ้น อีกทั้งน้ำนมที่เลี้ยงแบบอินทรีย์มีมูลค่า การซื้อขายเพิ่มถึง 30 เปอร์เซ็นต์จากเดิม


โคอินทรีย์ที่เลี้ยงแบบปล่อยอิสระยกเว้นเวลารีดนม

"สิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ คุณภาพชีวิตครอบครัวดี มีระดับความสามารถในการดำเนินกิจการฟาร์มโคนมสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลให้เกิดความยั่งยืนในเส้นทางอาชีพการทำฟาร์มโคนมแบบอินทรีย์"

สำหรับเกษตรกรและผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร.0-2441-5242 ต่อ 1531, 08-6977-3237 ในวันและเวลาราชการ

โดย : เพ็ญพิชญา เตียว 
ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ (16 สิงหาคม 2553) 


  • IMG_0404.JPG
    การทำนมอินทรีย์ 1. การใช้สารสกัดจากพืชในการกำจัดเห็บ การศึกษาการใช้สารสกัดจากใบและลำต้นของพืชมีพิษชนิดในตระกูล Pokeweed (Petiveria alliacea) (Phytolaccaceae) ในการกำจัดเห็บวัว โดยส...

  • IMG_0374.JPG
    นมอินทรีย์ ที่ แดรี่โฮม อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เหตุผลสำคัญที่ทำให้ชายผู้ที่รักและยืนหยัดในอาชีพการเลี้ยงโคนมมาอย่างยาวนานได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง จากฟาร์มโคนมที่เน้นการผลิตน้ำนม...

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 119,230