มาตรฐานการทำฟาร์มโคนม

มาตรฐานการทำฟาร์มโคนม


มาตรฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบนี้ กำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อให้ฟาร์มโคนมที่ต้องการขึ้นทะเบียน รับรองว่าเป็นฟาร์ม โคนมที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ได้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติด้านการจัดการฟาร์ม ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นเกณฑ์ขั้นพื้นฐานสำหรับฟาร์มโคนมที่ จะได้รับการรับรอง มาตรฐานฟาร์มโคนมและการผลิตน้ำนมดิบนี้ กำหนดวิธีปฏิบัติด้านฟาร์ม การจัดการฟาร์ม สุขภาพโคนม การเก็บรักษาน้ำนมดิบ และการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้น้ำนมที่ถูกสุขลักษณะและเหมาะสมสำหรับผู้บริโภค

ฟาร์มโคนม หมายถึง ฟาร์มเพาะเลี้ยงโคนม เพื่อผลิตโคนมและน้ำนมดิบ การผลิตน้ำนมดิบ หมายถึง การผลิตนมอย่างมีประสิทธิภาพ ได้นมที่บริสุทธิ์ คุณภาพสูงตามความต้องการของผู้บริโภค และ สามารถทำรายได้ดีให้กับเกษตรกร

องค์ประกอบของฟาร์มโคนม ทำเลที่ตั้งของฟาร์มโคนม อยู่ในบริเวณที่การคมนาคมสะดวก สามารถป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากภายนอกเข้าสู่ฟาร์มได้ อยู่ห่างจากชุมชน โรงฆ่าสัตว์ ตลาดนัดค้าสัตว์ และเส้นทางที่มีการเคลื่อนย้ายสัตว์และซากสัตว์ อยู่ในทำเลที่มีแหล่งน้ำสะอาด ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำใช้ เพื่อการบริโภคอย่างเพียงพอตลอดปี ควรได้รับความยินยอมจากองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นบริเวณที่ไม่มีน้ำท่วมขัง เป็นบริเวณที่โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี มีต้นไม้ให้ร่มเงาในฟาร์มโคนม และแปลงหญ้าพอสมควร

ลักษณะของฟาร์มโคนม เนื้อที่ของฟาร์มโคนม ต้องมีเนื้อที่เหมาะสมกับขนาดของโรงเรือนและการอยู่อาศัยของโคนม การจัดแบ่งพื้นที่ ต้องมีเนื้อที่กว้างขวางเพียงพอ สำหรับการจัดการแบ่ง การก่อสร้างอาคารโรงเรือนอย่างเป็นระเบียบ สอดคล้องกับการ ปฏิบัติงานและไม่หนาแน่น จะไม่สามารถจัดการด้านการผลิตสัตว์ การควบคุมโรคสัตว์ สุขอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้ ตามหลักวิชาการ ฟาร์มโคนมจะต้องมีการแบ่งบริเวณพื้นที่เป็นสัดส่วน โดยมีผังแสดงการจัดวางที่แน่นอน บ้านพักอาศัยและอาคารสำนักงาน อยู่ในบริเวณอาศัยโดยเฉพาะ ไม่มีการเข้าอยู่อาศัยในบริเวณโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ บ้านพักต้องอยู่ในสภาพแข็งแรง สะอาด เป็นระเบียบไม่สกปรกรกรุงรัง มีปริมาณเพียงพอกับจำนวนเจ้าหน้าที่ ต้องแยกห่างจากบริเวณเลี้ยงสัตว์พอสมควร สะอาด ร่มรื่น มีรั้วกั้น ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงที่อาจเป็นพาหะนำโรคเข้าไปในบริเวณเลี้ยงโคนม ลักษณะโรงเรือนที่จะใช้เลี้ยงโคนม ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนโคนมที่เลี้ยง ถูกสุขลักษณะและอยู่สุขสบาย

การจัดการโรงเรือน โรงเรือนและที่ให้อาหาร ต้องสะอาดและแห้ง โรงเรือนต้องสะดวกในการปฏิบัติงาน ต้องดูแลซ่อมแซมโรงเรือนให้มีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน มีการทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ตามความเหมาะสม มีการจัดการโรงเรือน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนนำโคเข้าเลี้ยง

การจัดการด้านบุคลากร ให้มีสัตวแพทย์ ควบคุมกำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยภาพในโคนม โดยสัตวแพทย์ต้องมีใบอนุญาต ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ชั้นหนึ่ง และได้รับใบอนุญาตควบคุมฟาร์มโคนมจากกรมปศุสัตว์ ต้องมีจำนวนแรงงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนที่เลี้ยงสัตว์ มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ในแต่ละตำแหน่งอย่างชัดเจน นอกจากนี้บุคลากรภายในฟาร์มโคนมทุกคน ควรได้รับการตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

ผู้ประกอบการฟาร์มโคนมต้องมีคู่มือการจัดการฟาร์ม แสดงให้เห็นระบบการเลี้ยง การจัดการฟาร์ม ระบบบันทึกข้อมูล การป้องกันและควบคุมโรค การดูแลสุขภาพสัตว์และสุขอนามัยในฟาร์มโคนม ระบบการบันทึกข้อมูล ฟาร์มโคนมจะต้องมีระบบการบันทึกข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารฟาร์ม ได้แก่ บุคลากร แรงงาน ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการด้านการผลิต ได้แก่ ข้อมูลตัวสัตว์ ข้อมูลสุขภาพสัตว์ ข้อมูลการผลิตและข้อมูลผลผลิต ระบบบันทึกด้านอาหารสัตว์

คุณภาพอาหารสัตว์ แหล่งที่มาของอาหารสัตว์ ในกรณีซื้ออาหาร ต้องซื้อจากผู้ที่ได้รับอนุญาตตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 ในกรณีผสมอาหารสัตว์ ต้องมีคุณภาพอาหารสัตว์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตาม พรบ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2525 ภาชนะบรรจุอาหารสัตว์ ควรสะอาด ไม่เคยใช้บรรจุวัตถุมีพิษ ปุ๋ย หรือวัตถุอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อสัตว์ สะอาด แห้ง กันความชื้นได้ ไม่มีสารที่จะปนเปื้อนกับอาหารสัตว์ ควรมีการตรวจสอบคุณภาพอาหารสัตว์อย่างง่าย นอกจากนี้ต้องสุ่มตัวอย่างอาหารสัตว์ ส่งห้องปฏิบัติการที่เชื่อถือได้ เพื่อตรวจวิเคราะห์ คุณภาพและสารตกค้างเป็นประจำ และเก็บบันทึกผลการตรวจวิเคราะห์ไว้ให้ตรวจสอบได้ ต้องมีสถานที่เก็บอาหารสัตว์แยกต่างหาก กรณีมีวัตถุดิบเป็นวิตามินควรเก็บในห้องปรับอากาศ ห้องเก็บ อาหารสัตว์ต้องสามารถรักษาสภาพของอาหารสัตว์ ไม่ให้เปลี่ยนแปลง สะอาด แห้ง ปลอดจากแมลงและสัตว์ต่าง ๆควรมีแผงไม้รองด้านล่างของภาชนะบรรจุอาหารสัตว์

การจัดการด้านสุขภาพสัตว์ ฟาร์มโคนมจะต้องมีระบบเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รวมถึงการมีโปรแกรมทำลายเชื้อโรคก่อนเข้าและออกจาก ฟาร์ม การป้องกันการสะสมของเชื้อโรคในฟาร์ม การควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว และไม่ให้แพร่ระบาดจากฟาร์ม การบำบัดโรค การบำบัดโรคสัตว์ ต้องปฏิบัติตาม พรบ.ควบคุมการประกอบการบำบัดโรคสัตว์ พ.ศ. 2505 การใช้ยา สัตว์ต้องปฏิบัติตาม ข้อกำหนดการใช้ยาสำหรับสัตว์ (มอก. 7001-2540)

การจัดการสิ่งแวดล้อม สิ่งปฏิกูลต่าง ๆ รวมถึงขยะต้องผ่านการกำจัดอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยข้างเคียง หรือสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ขยะมูลฝอย ทำการเก็บในถังขยะที่มีฝาปิดมิดชิด และนำไปกำจัดทิ้งในบริเวณที่ทิ้งของเทศบาล สุขาภิบาล หรือองค์กรท้องถิ่น ซากสัตว์ ทำการกลบฝังหรือทำลาย มูลสัตว์ นำไปทำเป็นปุ๋ยหรือหมักเป็นปุ๋ย โดยไม่ทิ้งหรือกองเก็บที่จะทำให้เกิดกลิ่นหรือความรำคาญแก่ผู้อาศัยอยู่ข้างเคียง น้ำเสีย ฟาร์มโคนมจะต้องจัดให้มีระบบเก็บกักหรือบำบัดน้ำเสียให้เหมาะสมทั้งนี้น้ำทิ้งที่ระบายออกนอกฟาร์ม จะต้องมีคุณภาพน้ำที่เป็นไปตามมาตรฐาน คุณภาพน้ำทิ้งที่กำหนด

การผลิตน้ำนมดิบ ตัวแม่โคให้นม ฟาร์มโคนมต้องมีการเตรียมตัวแม่โคก่อนทำการรีดนม ให้สะอาด และไม่เครียด ก่อนการรีดนม การรีดนมโค ฟาร์มโคนมควรมีการทดสอบความผิดปกติของน้ำนมก่อนรีดนมลงถังรวม การรีดนมโค ควรให้ถูกต้องตามหลักวิธีของการรีดนมด้วยมือ หรือด้วยเครื่องรีดนม และมีการปฏิบัติต่อเต้านมโคและน้ำนมที่ผิดปกติ ตามหลักคำแนะนำของสัตวแพทย์

การเก็บรักษาและการขนส่งน้ำนมดิบ สำหรับเกษตรกร ฟาร์มโคนมควรต้องรีบขนส่งน้ำนมที่รีดได้ ไปยังถังรวมนมของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบให้เร็วที่สุด และหลังจากส่งน้ำนมแล้ว ควรทำความสะอาด ถังรวมนมของฟาร์มโดยเร็ว ให้พร้อมใช้งานในครั้งต่อไปได้สะดวก สำหรับศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ ควรมีระบบทำความเย็นน้ำนมดิบก่อนรวมในถังนมรวมของศูนย์รวบรวมน้ำนม และควรทำความสะอาดอุปกรณ์เก็บรักษาน้ำนมทั้งหมด ตามหลัก วิธีที่ผู้ผลิตอุปกรณ์เก็บรักษาน้ำนม ได้กำหนดไว้ อย่างเคร่งครัด คุณภาพน้ำนมดิบโดยรวมของฟาร์มโคนม ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 26 พ.ศ.2522


  • การจัดการฟาร์มโคเนื้อ
    การจัดการฟาร์มโคเนื้อ เอกชัย บุญจันทร์ จากอดีตถึงปัจจุบัน ในอดีตเกษตรกรบ้านเรานอกจากจะทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวตามประสาชาวชนบทที่อยู่กันอย่างเรียบง่าย คอย...

  • บริษัท กู๊ดวันฟีด จำกัด ป้านโฆษา.jpg
    การเลี้ยงโคนมในเขตร้อน การเลี้ยงโคนมในเขตร้อนหรือว่าในช่วงฤดูร้อนนั้น มีเคล็ดลับอย่างไรที่จะทำให้แม่โคนมโดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่โคนมที่มีน้ำนมมากๆ ยังคงให้น้ำนมในปริมาณเท่าเดิมและจะ...

  • บริษัท กู๊ดวันฟีด จำกัด ป้านโฆษา.jpg
    เปรียบเทียบคุณค่าทางโภชนาการของวัตถุดิบ วัตถุดิบ พลังงานในหมู Kcal/kg พลังงานในสัตว์ปีก Kcal/Kg โปรตีน % ไขมัน % แคลเซียม % ฟอสฟอรัส % เยื่อใย % เถ้า % ...

  • บริษัท กู๊ดวันฟีด จำกัด ป้านโฆษา.jpg
    ราคาสินค้าเกษตร - ปลาช่อน ไชส์ใหญ์ จำเริญซื้อปลา จ.นครสรรค์ 120 บ./กก. - ปลานิล ไซส์ใหญ์ แพปลาสมพร จ.ปทุมธานี 44 บ./กก. - ถั่งเหลือง แกะเมล็ค คละเกรด หจก.น่านพืชผล จ.น่าน 20 ...
Visitors: 119,600