การทำนมอินทรีย์

การทำนมอินทรีย์

1. การใช้สารสกัดจากพืชในการกำจัดเห็บ

การศึกษาการใช้สารสกัดจากใบและลำต้นของพืชมีพิษชนิดในตระกูล Pokeweed (Petiveria alliacea) (Phytolaccaceae) ในการกำจัดเห็บวัว โดยสกัดสารด้วยเม็ททิลแอลกอฮอล์ พบว่าสามารถกำจัดตัวอ่อนได้ 100% กำจัดตัวแก่ได้ 26% หรือ 86% ยับยั้งการวางไข่ได้ 40% หรือ 91% ตามลำดับ

2. ซีลีเนี่ยมกับโรคเต้านมอักเสบ

การศึกษาการเสริมแร่ธาตุซีลีเนี่ยมให้วัวสาวตั้งท้องพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนจำนวน 140 ตัว โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนังในช่วงหนึ่งเดือนก่อนคลอด หรือผสมอาหาร พบว่าทั้งสองรูปแบบมีแนวโน้มช่วยลดอัตราการเกิดโรคเต้านมอักเสบในช่วงหลังคลอดลงได้ แม้จะไม่เห็นผลชัดเจนก็ตาม

 

3. อันตรายจากการเสริมวิตามินอี

การทดลองเสริมวิตามินอีในอาหารในระดับสูง (3,000 หน่วยต่อวัน) ในช่วงแห้งนมและหลังคลอดในวัวนมจำนวน 5 ฟาร์ม พบว่ามีผลเสียทำให้เกิดโรคเต้านมอักเสบ ทั้งแบบแสดงและไม่แสดงอาการ สูงกว่ากลุ่มที่เสริมในระดับต่ำ (135 หน่วยต่อวัน) อย่างมีนัยสำคัญ

4. ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมดลูกอักเสบ

การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมดลูกอักเสบและมีหนองในช่องคลอด ในวัวนมจำนวน 1,xxx ตัว จาก 3 ฝูง พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมดลูกอักเสบคือ การมีระดับกรดไขมันชนิดเลวในกระแสเลือดสูงหลังคลอด การคลอดยาก การมีรกค้างหลังคลอด และการมีระดับสารแฮปโตโกลบูลินในกระแสเลือดสูง ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดหนองในช่องคลอดคือ การมีลูกแฝด การคลอดยาก มดลูกอักเสบ และการมีระดับสารแฮปโตโกลบูลินในกระแสเลือดสูง นอกจากนั้น การเกิดผนังมดลูกอักเสบในระดับเซลล์ เกี่ยวข้องกับการมีสภาพร่างกายผอมในช่วงคลอด การมีสารคีโตนบอดี้ส์สูง และการมีระดับสารแฮปโตโกลบูลินในกระแสเลือดสูง

 

5. วัวชอบอยูในร่มมากกว่าสปริงเกอร์

การทดลองความชอบในการเลือกใช้สิ่งช่วยลดอุณหภูมิเนื่่องจากความร้อนในวัวนมจำนวน 96 ตัว ที่ให้นมเฉลี่ย 13 กก. ต่อวัน ที่อุณหภูมิเฉลี่ย 22 องศาเซลเซียส พบว่าวัวชอบอยู่ในร่มมากว่าที่จะอยู่ใต้ระบบสปริงเกอร์ (62 ต่อ 38%) แม้ว่าการใช้สปริงเกอร์จะช่วยลดอุณหภูมิร่างกายได้ดีกว่า (11 ต่อ 1%)

 

6. เต้านมอักเสบทำให้นมลด !?

การศึกษาในประเทศจีนพบว่า การเกิดเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ จะทำให้ระดับเม็ดเลือดขาว*ในน้ำนมเพิ่มสูงขึ้นตามระดับของการติดเชื้อ โดยยิ่งมีการเพิ่มของเซลล์เม็ดเลือดขาวมาก ยิ่งทำให้น้นมที่รีดได้ต่อวันลดลงเป็นเงาตามตัว โดยค่าเฉลี่ยของนมที่รีดได้ปกติอยู่ที่ 26.7 กก. ต่อวัน อาจลดลงเหลือ 25.7 กก. ต่อวันได้โดยน้ำนมที่รีดได้ไม่มีความผิดปกติใดๆให้เห็น

7. การปรับตัวในสภาพเครียดจากความร้อน

การศึกษาผลการใช้ระบบพ่นละอองน้ำร่วมกับการใช้ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโตสังเคราะห์*ในวัวนมเจอร์ซี่ที่อยู่ในสภาพเครียดจากความร้อนนาน 2 ปี โดยทดลองในช่วงหลังคลอด และให้ฮอร์โมนแก่วัวในวันที่ 63 หลังคลอด พบว่าวัวที่ได้รับความเย็นและฮอร์โมนให้นมสูงกว่าวัวกลุ่มที่ไม่ได้รับ (25.5 ต่อ 21.8 และ 23.7 ต่อ 20.5 กก. ต่อวัน ตามลำดับ) และมีประสิทธิภาพด้านระบบสืบพันธุ์ที่ดีกว่าเช่นกัน


  • IMG_0374.JPG
    นมอินทรีย์ ที่ แดรี่โฮม อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี เหตุผลสำคัญที่ทำให้ชายผู้ที่รักและยืนหยัดในอาชีพการเลี้ยงโคนมมาอย่างยาวนานได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยง จากฟาร์มโคนมที่เน้นการผลิตน้ำนม...

  • IMG_0379.JPG (2).JPG
    วิจัยการผลิตน้ำนมอินทรีย์ เพิ่มขีดการแข่งขันทางการค้าแปลงหญ้าสำหรับเลี้ยงโคปัจจุบันหลายประเทศต่างเริ่มหันมามุ่งผลิตสินค้าปศุสัตว์ในระบบ "อินทรีย์" กันมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้กั...

ชื่อผู้ตอบ:

Visitors: 119,633